การอนุรักษ์พลังงาน

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายการอนุรักษ์พลังงาน
พลังงาน มาจากคำว่า พลัง และ งาน หมายถึง พลังต่างๆ ที่นำมาใช้ให้เกิดเป็นงานตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 
พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำ ให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงานและพลังงานยังรวมถึงการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก แหล่งที่ใช้และผลิตพลังงาน
วิธีการอนุรักษ์พลังงาน มีหลากหลายวิธีสรุปได้ดังนี้
1.ในการเดินทาง
1.1 ใกล้ๆ...ไม่ไกลจนเกินไป...ควรเดินไป...ไม่ใช้รถ...หรือจะใช้รถจักรยานแทนก็ได้ เป็นการออกกำลังกายไปในตัว 
1.2 ควรวางแผนเส้นทางก่อนเดินทาง เพื่อเลือกทางที่ใกล้ที่สุด หรือใช้เวลาน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานหรือลดความสิ้นเปลือง ของน้ำมันเชื้อเพลิงต่อวันลงได้ รวมทั้งลดเวลาในการเดินทาง 
1. 3 หากที่พักของเราใกล้กับที่ทำงานในระยะทางที่สามารถใช้รถโดยสารประจำทางได้สะดวก ก็ควรหันมาใช้รถประจำทางให้มากขึ้น 
1.4 ถ้าต้องการเดินทางจากที่พักถึงที่ทำงานเป็นระยะทางไกลๆทุกวัน ควรจะใช้เส้นทางลัด หรือเส้นทางที่มีสัญญาณไฟจราจรหรือทางแยก น้อยที่สุด 
1.5 หลีกเลี่ยงเวลาทางเดินทางระยะไกล เช่น ไปต่างจังหวัด หากไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแล้ว ควรหันมาใช้รถโดยสารประจำทาง หรือ รถไฟ 
1.6 หมั่นตรวจสอบสภาพรถตลอดเวลา และก่อนเดินทางไกล 
2. การอุตสาหกรรมพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ก็คือ โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม โดยที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้มีมาตรการผลักดัน แนะนำ ส่งเสริม กระตุ้นเพื่อให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นระบบโดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนทางเทคนิคและวิชาการทางเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนทางด้านการเงินในการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น บุคลากร ข้อมูล แผนงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พลังงาน โดยกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ยังเป็นกรอบและแนวทางปฎิบัติในการปรับปรุงคุณภาพของพลังงานให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฉบับนี้ยังได้ระบุให้เจ้าของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมซึ่งมีคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และให้ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. บำรุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเป็นระยะๆ
2. ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์พลังงาน
3. รับรองข้อมูลที่ส่งให้แก่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
4. ควบคุมดูแลการบันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน การติดตั้งเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้และรับรองความถูกต้องของการบันทึกดังกล่าว
5. ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานเพื่อส่งให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
6. รับรองผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
7. ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมปฏิบัติตามคำแนะนำของอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
3. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย การใช้พลังงานในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยควรปฏิบัติดังนี้
3.1 การใช้น้ำ
  • ใช้หัวก็อกที่มีตัวลดอัตราการไหลของน้ำให้อ่อนลง
  • ปิดก็อกน้ำในระหว่างแปรงฟัน สระผม หรือโกนหนวด
  • ใช้ไม้กวาดในการกวาดพื้นแทนการใช้น้ำฉีดเพื่อทำความสะอาด
  • ล้างรถด้วยน้ำถังและฟองน้ำ แทนการใช้สายยางฉีดน้ำ
  • ใช้น้ำจากการซักล้าง หรือถูพื้น เพื่อรดน้ำต้นไม้แทนการใช้น้ำประปา โดยตรง
3.2 เลือกซื้อแต่อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานเช่น เลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีฉลากเบอร์ 5 เป็นต้น
3.3 การใช้เตารีดไฟฟ้า
  • ควรตั้งอุณหภูมิ (ความร้อน) ให้เหมาะสมกับชนิดผ้าและแบ่งผ้าชนิดเดียวกันไว้ด้วย กัน เพื่อหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนการตั้งอุณหภูมิบ่อยครั้ง
  • ควรรวบรวมผ้าไว้รีดคราวละมากๆ และพรมน้ำให้หมดทุกตัว ก่อนจะรีดผ้า
  • อย่าพรมน้ำจนเปียก เพราะจะทำให้ต้องรีดผ้านานกว่าเดิมสิ้นเปลืองไฟฟ้า
  • ก่อนรีดผ้าเสร็จควรดึงปลั๊กก่อน เนื่องจากยังมีความร้อนเหลืออยู่พอที่จะรีดต่อไปได้
  • เวลาตากผ้าควรจัดรูปทรงผ้าและดึงให้ตึง เพื่อให้เสื้อผ้ายับน้อยที่สุด จะทำให้รีดง่าย และประหยัดไฟฟ้า
3.4 การใช้โทรทัศน์
  • โทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
  • โทรทัศน์ที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าระบบทั่วไปในขนาดเดียวกัน เพราะมีวงจรเพิ่มและใช้ไฟฟ้าตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ใช้เครื่อง
  • ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ถ้าเสียบปลั๊กทิ้งไว้จะใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา
  • โทรทัศน์ขาวดำจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าโทรทัศน์สี
  • ปิดเมื่อไม่มีคนดู
  • ควรตั้งเวลาปิดโทรทัศน์โดยอัตโนมัติ สำหรับเครื่องที่มีระบบตั้งเวลาปิด เพราะ จะช่วยประหยัดไฟสำหรับผู้ที่มักจะนอนไม่หลับหน้าโทรทัศน์หรือลืมปิดเครื่อง

3.5 การใช้เครื่องซักผ้า
  • แช่ผ้าก่อนเขาเครื่อง ทำให้ง่ายต่อการซักผ้า
  • ผ้าที่ซักให้เป็นไปตามพิกัดของเครื่อง อย่าใส่ผ้ามากเกินกำลังของเครื่อง หรือซักจำนวนน้อยเกินไป
  • ไม่ควรใช้เครื่องซักผ้าแบบที่มีเครื่องอบแห้งด้วยไฟฟ้าในตัว เพราะสิ้นเปลืองไฟฟ้า มาก ควรตากผ้ากับแสงแดด หรือในที่มีลมโกรก
ข้อมูลทั้งได้อ้างอิงมาจาก

ศุภณัฐ เนียมโสตร  5/7  เลขที่ 27

Copyright @ 2013 Natural Resources Conservation in Thailand and World. Designed by Templateism | MyBloggerLab