100 วิธีดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลากหลายวิธีกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมใกล้ๆ ตัวเรา ปรับเปลี่ยน เรียนรู้เพื่อความสมดุลย์ชีวิตและธรรมชาติ 30 วิธีแรกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมง่ายๆ รอบๆ ตัวเรา ดังนี้

 

1. ใช้ผ้าแทนกระดาษทิชชู

เรา ใช้กระดาษทิชชูเช็ดมือ เช็ดหน้า ปีละหลายล้านฟุต ซึ่งหมายถึงการโค่นต้นไม้ลงจำนวนมหาศาลช่วยกันลดการใช้กระดาษทิชชูด้วยการ วางผ้ามือไว้ใกล้อ่างล้างมือแล้วใช้ผ้าเช็ดโต๊ะแทนการใช้กระดาษทิชชูเช็ด

2. ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

ประหยัด ถุงพลาสติกได้โดยการใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หากถุงพลาสติกสกปรกก็ให้ทำความสะอาดแล้วแขวนไว้ให้แห้งเพื่อส่งกลับเข้าโรง งานสำหรับผลิตใหม

3. แยกทิ้งเศษกระดาษจากขยะอื่น

โปรด หลีกเลี่ยงการทิ้งเศษกระดาษลงในถังกับขยะอื่นๆ เพราะจะทำให้กระดาษเปรอะเปื้อนไขมันและเศษอาหารจะทำให้เศษกระดาษนั้นนำไป ผลิตใหม่อีกไม่ได้

4. กระดาษที่นำไปรีไซเคิลไม่ได้

กระดาษที่ไม่สามารถนำไปเข้ากระบวนการผลิตใหม่เป็นกระดาษใช้ได้อีก ได้แก่ กระดาษที่เคลือบด้วยขี้ผึ้ง กระดาษที่เข้าเล่มด้วยกรรมวิธีการละลายโดยใช้ความร้อน เช่น สมุดโทรศัพท์ นิตยสารต่างๆ ตลอดจนกระดาษที่ถูกเปรอะเปื้อนด้วยการชนิดที่ไม่ละลายน้ำ

5. หนังสือพิมพ์สามารถแก้ไขปัญหา ขยะกระดาษ

แหล่งสร้างขยะกระดาษที่สำคัญก็คือหนังสือพิมพ์ หน้าที่เป็นขยะกระดาษโดยผู้อ่านไม่ได้อ่าน ก็คือหน้าโฆษณาธุรกิจ ซึ่งมีอยู่ฉบับละหลายๆ หน้า ซึ่งแม้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหนังสือพิมพ์ แต่ ควร  คำนึงว่า นั่นคือการทำลายกระดาษสะอาดและสร้างขยะกระดาษให้เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน

 6. เศษหญ้ามีประโยชน์

เศษหญ้าที่ถูกทิ้งอยู่บนสนามนั้น สามารถให้ประโยชน์ต่อสนามหญ้าได้มากเพราะในเศษหญ้านั้น มีธาตุอาหาร ที่มีคุณค่าเทียบเท่ากับปุ๋ยที่ใช้ใส่หญ้าทีเดียว

7. วิธีตัดกิ่งไม้

วิธีการตัดกิ่งก้านของต้นไม้ ไม้พุ่มใบไม้ ควรตัดให้เป็นเศษเล็กเศษน้อยเพื่อช่วยลดเศษขยะให้กับสวนได้และทั้งยังช่วยให้เกิดการเน่าเปื่อยขึ้นกับเศษใบไม้นั้นเร็วขึ้นด้วย

8. ใช้เศษหญ้าคลุมไม้ใหญ่

เศษหญ้าที่ตัดจากสนามและสวนนั้น สามารถนำไปคลุมต้นไม้ใหญ่ได้ การใช้เศษหญ้าปกคลุมพืชในสวนจะช่วยในการกำจัดวัชพืชได้เพราะวัชพืชจะไม่สามารถแทงลำต้นผ่านเศษหญ้าได้ นอกจากนี้เมล็ดของวัชพืชที่ร่วงหล่นก็ไม่อาจหยั่งรากทะลุผ่านเศษใบไม้ได้ด้วย

9. ประโยชน์ของพลาสติกช่วยถนอมอาหาร

พลาสติกทุกชนิดหากถูกไฟไหม้ จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายได้มีการรณรงค์ให้เลิกใช้พลาสติก แต่จริง ๆ แล้วพลาสติกยังคงมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันโดยเฉพาะพลาสติกมีประโยชน์ในการถนอมอาหารให้สดอยู่ได้ เป็นเวลานาน ๆ

10. พลาสติกรีไซเคิล

ปัจจุบันมีบริษัทกว่า 200 แห่ง ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกได้ทำการรีไซเคิลพลาสติก จำนวน 20% จากขวดเครื่องดื่มพลาสติกที่ทำจาก Polyethylene Terephthalate หรือ PET จะถูกนำไปรีไซเคิล เป็นด้ามเครื่องจับไฟฟ้า กระเบื้องปูพื้นเส้นใยสังเคราะห์ในหมอน ถุงนอน หรือใช้บุเสื้อแจ็คเก็ต

 11. พลาสติกรีไซเคิล (2)

ภาชนะพลาสติกที่ใส่น้ำผลไม้และนมนั้นทำมาจากพลาสติกชนิด Polyethylene ที่มีความเข้มข้นมากเมื่อใช้แล้วได้ถูกนำมารีไซเคิลทำเป็นท่อพลาสติก กระถางต้นไม้ เก้าอี้พลาสติก

12. วิธีเก็บขวดแก้วที่ใช้แล้ว

ขวดแก้วทุกชนิดที่บรรจุของเมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และแยกชนิดของแก้ว และแยกสีของแก้วด้วย

13. วิธีเก็บกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้ว
นำกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาบี้ให้แบนก่อนทิ้ง หรือขายแก่คนรับซื้อเศษโลหะ

14. น้ำสะอาดมาจากน้ำใต้ดิน
น้ำสะอาดที่เราใช้ประโยชน์ดื่มกิน ส่วนใหญ่ มาจากน้ำใต้ดิน การทิ้งขยะบนพื้นผิวดินทำให้มีผลถึงน้ำใต้ดิน เพราะน้ำฝนจะชะความเป็นพิษและความโสโครกให้ซึมลงไปถึงชั้นน้ำใต้ดินทำให้น้ำใต้ดินเน่าเสียและเป็นพิษได้

15. วิธีล้างรถยนต์

ล้างรถยนต์ด้วย ฟองน้ำ และใช้ถังน้ำจะใช้น้ำเพียง 15 แกลลอน แต่ถ้าล้างด้วยสายยางจะต้องสูญเสียน้ำถึง 150 แกลลอน
 16. ดูแลรักษารถด้วยการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
การดูแลรักษารถจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอได้แก่ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือและทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องควรเปลี่ยนไส้กรองด้วย

17. รักษารถ ด้วยการเปลี่ยนไส้กรอก

ไส้กรองอากาศที่สกปรก จะทำให้การไหลของอากาศที่สะอาดทำได้น้อยลงมีผลต่อการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ด้วย

18. รักษารถ ช่วยลดมลพิษ

การดูแลรักษารถจะทำให้รถสามารถวิ่งได้เพิ่มขึ้นอีก 10% ของจำนวนไมล์ ซึ่งเท่ากับสามารถลดราคาเชื้อเพลิงลงได้ถึง 10% เช่นกัน การลดการใช้เชื้อเพลิงลงก็เท่ากับเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศให้กับโลกได้ด้วย

19. ยางรถยนต์ ช่วยประหยัดน้ำมัน

การเติมลมยางรถ ให้พอดีและขับรถตามข้อกำหนดความเร็วจะช่วยในการประหยัดน้ำมันได้

20. วิธีป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเครื่อง

การป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเครื่องจากตัวถังรถยนต์สามารถทำได้ด้วยการปิดสลักเกลียวในเครื่องยนต์ทุกตัวให้แน่นโดยเฉพาะในส่วนที่ซึ่งน้ำมันเครื่องรั่วไหลออกไปได้ช่วยป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเพื่อลดมลพิษให้กับอากาศของเรา

 21. ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อไหร
ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อขับรถได้ทุก ๆ ระยะ 3,000-4,000 ไมล์ และควรเลือกใช้ไส้กรองที่ดีที่สุดด้วย

22. การเพิ่มออกซิเจนในน้ำมัน

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดมลพิษให้กับรถยนต์ ก็คือการเพิ่มส่วนผสมของออกซิเจนในน้ำมันซึ่งจะช่วยลดปริมาณการเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้เป็นจำนวนมาก
23. อันตรายจากก๊าซเรดอน

ก๊าซเรดอน เป็นก๊าซกัมมันตภาพรังสี มักพบแทรกอยู่ในดินและหินมีคุณสมบัติที่สามารถซึมผ่านขึ้นมาบนผิวดินและกระจายออกสู่อากาศได้โดยผ่านทางรอยร้าวและโพรงของคอนกรีตบล็อค ตามท่อ ก๊าซเรดอนเป็นก๊าซที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ

24. พิษของก๊าซเรดอนต่อร่างกาย

ก๊าซเรดอนเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของปอด การได้รับสารกัมมันตภาพรังสีจากก๊าซเรดอนติดต่อกันนานกว่า 20-30 ปี จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งที่ปอดได้

25. วิธีป้องกันอันตรายจากก๊าซเรดอน

การป้องกันอันตรายจากก๊าซเรดอน ทำได้โดยการไม่สูบบุหรี่ในบ้านหรือในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้น้อย เปิดหน้าต่างให้มีการถ่ายเทระหว่างอากาศภายในบ้านกับอากาศนอกบ้านทุก ๆ ว

  26. ปลูกต้นไม้ในห้องช่วยลดมลพิษ


ปลูกต้นไม้ในห้อง โดยปลูกไม้กระถางผสมถ่านกับดิน ถ่านจะเป็นตัวช่วยดูดซับสารมลพิษและจุลินทรีย์ภายในห้องได้

27. พิษภัยของฝุ่นฝ้าย

ฝุ่นฝ้ายในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคปอดอักเสบ โดยฝุ่นฝ้ายจะเข้าไปทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกและหัวใจ โปรดป้องกันตนเองจากฝุ่นฝ้ายด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกันในการหายใจ

28. วิธีใช้น้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน

มีสารเคมีมากกว่า 63 ชนิด ที่ใช้เป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน เช่น น้ำยาถูพื้น น้ำยาขัดห้องน้ำ โปรดอ่านคำแนะนำในฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันตัวเองให้พ้นจากพิษภัยอันตราย

29. เก้าอี้พลาสติกรีไซเคิล

เก้าอี้พลาสติกส่วนใหญ่ผลิตขึ้นใหม่จากพลาสติที่ใช้แล้ว เช่น เก้าอี้พลาสติกที่มีขนาดความยาว 6 ฟุต นั้น ทำมาจากถังพลาสติก ที่ใช้บรรจุนมเป็นจำนวนถึง 1,050 ใบ

30. รักษาสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นที่ใกล้ตัว

ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นเราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจนถึงพื้นที่ป่าใหญ่ เพื่อปลูกป่า แต่เราสามารถเริ่มต้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายได้ในพื้นที่ใกล้บ้านเราเอง
 

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ความหมายของสิ่งแวดล้อม
คือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตรวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
·       สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
·       สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
 
ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
เราสามารถจำแนกปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สังคมมนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ 3 ปัญหาใหญ่ ๆ คือ
         1. ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ
          2. ปัญหามลภาวะหรือมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
          3. ปัญหาการทำลายระบบนิเวศ
 
 
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจากสาเหตุใหญ่ 3 ประการ คือ

        1. การเพิ่มจำนวนของประชากร
        การเพิ่มความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ ความต้องการพื้นที่ทำกินทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีการบุกรุกทำลายป่าอันควรสงวนไว้เพื่อรักษาดุลยภาพของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติความต้องการในการใช้ทรัพยากรอื่นๆ เป็นต้นว่า น้ำ อากาศ แร่ธาตุ แหล่งพลังงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพียงเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ยังขาดการวางแผนการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงความต้องการในอนาคต จนเกิดความเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นโดยทั่วไปและอาจทำให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงในอนาคต หากยังมีการทำลายหรือการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติกันอย่างไม่ระมัดระวังต่อไปอีก
 
        2. การรวมตัวของประชากรหรือการตั้งถิ่นฐานมนุษย์
          เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเช่นเดียวกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ซึ่งโดยปกติแล้วจะขาดการวางแผนและผังเมืองไว้ล่วงหน้าทำให้เกิดปัญหาของเมืองขึ้น เป็นต้นว่าการใช้ที่ดินที่ไม่มีระเบียบแบบแผน ปัญหาการจราจร การขาดแคลนทางด้านสาธารณูปโภคและการบริการโดยทั่วไป รวมทั้งการพักผ่อนหย่อนใจอันแสดงถึงสภาพความเสื่อมโทรมทั้งทางด้านกายภาพสังคม และคุณภาพของชีวิตของคนในเมืองทุกขณะการขยายตัวของเมืองนั้นโดยปกติจะมีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากอุตสาหกรรมจะได้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้ชิดกับเมืองที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งหมายถึง การมีตลาดการคมนาคมและบริการพื้นฐานต่างๆ ที่ดีกว่าเมืองหรือชุมชนขนาดเล็ก การขยายตัวทางอุตสาหกรรมมักจะขาดการวางแผนหรือควบคุมที่เพียงพอ จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย อากาศเป็นพิษจากของเสียที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ปล่อยออกมา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านกายภาพ และทางด้านสุขภาพ อนามัย และคุณภาพชีวิตของประชากรเช่นเดียวกัน
 
        3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตในทางด้านการเกษตร
        การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงได้ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของคุณภาพของดินปัญหาดินเป็นพิษ ซึ่งอาจจะแผ่กระจายตัวลงสู่แม่น้ำ ลำธาร จนเป็นสาเหตุของน้ำเสีย หรือทางด้านอุตสาหกรรม วิธีการในการผลิตที่ใช้สารตะกั่ว ปรอท สารหนู ฯลฯ สารเหล่านี้จะเป็นพิษร้ายแรงต่อสุขภาพอนามัยของประชากร และยากแก่การแก้ไขหรือทำลายส่วนที่ตกค้างให้หมดสิ้นไป การใช้พลังงานก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นได้หลายประการ
        จะเห็นได้ว่าปัญหาของสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นจากคน และการกระทำของคนทั้งสิ้นดังนั้นในการแก้ไขและวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
 
 
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดรวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึงอย่างไรก็ตามในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้นดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย
 
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
 
1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ
            1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
            2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
            3) การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
            4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ      สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
            5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
            6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น
 
 2.  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
 
            1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์เกิดความรักความหวงแหนและให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง
            2) การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น
            3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
            4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการวางแผนพัฒนาการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นต้น
            5) การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสันและระยะยาวเพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนำไปปฏิบัติรวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ที่มา http://www.tigertemplecharity.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539310251&Ntype=13

มารู้เกี่ยวกับ " ผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล "

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เว็บไซต์ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล มีข้อมูล ผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล ดังนี้ น้ำมันที่รั่วไหลสู่แหล่งน้ำจะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพ ทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เริ่มจากน้ำมันบางส่วนระเหยไป น้ำมันที่เหลือจะเปลี่ยนสภาพไปตามคุณสมบัติเฉพาะของชนิดน้ำมันนั้นๆ และปัจจัยต่างๆ เช่น แสงแดด กระแสน้ำ อุณหภูมิ ฯลฯ
โดยคราบน้ำมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง และปิดกั้นการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำต่างๆ เปลี่ยนแปลงสภาวะการย่อยสลายของแบคทีเรียในน้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น (ปลา สัตว์หน้าดิน ปะการัง ฯลฯ) รวมถึงนกน้ำด้วย เกิดการสะสมสารพิษในห่วงโซ่อาหารที่เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิต (แพลงก์ตอนพืช) ผู้บริโภคขั้นต้น (แพลงก์ตอนสัตว์/ปลา) จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้ายซึ่งก็คือมนุษย์
คราบน้ำมันยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประมงและการเพาะลี้ยงชายฝั่ง เช่น สัตว์น้ำตายจากคราบน้ำมัน ขาดออกซิเจน ชายหาดสกปรกจากคราบน้ำมัน ทำลายทัศนียภาพ มีกลิ่นเหม็น ไม่เหมาะกับการท่องเที่ยวและพักผ่อน ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่นและระดับประเทศ
ความรุนแรงของผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งชนิดของน้ำมัน ปริมาณที่รั่วไหล สภาพภูมิศาสตร์ของบริเวณที่เกิดรั่วไหล กระแสน้ำ กระแสลม การขึ้น-ลงของน้ำทะเล ตลอดจนความหลากหลายและความสมบูรณ์ของทรัพยากรรอบๆ บริเวณนั้น
                                                                  
         
                                                                             ที่มา http://www.dailynews.co.th/Content/regional/141055/
                                                                                                                     
                                                                                                                                 กฤษณกร  5/7 เลขที่ 1

วันสิ่งแวดล้อมโลก ชวนปรับพฤติกรรมลด ทำลายธรรมชาติ

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ชวนลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ปรับพฤติกรรมลดโลกร้อนในวันสิ่งแวดล้อมโลก ปรับพฤติกรรมใช้ชีวิต ยกระดับความคิดแก้วิกฤติน้ำท่วมโลก...

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 57 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมว่า ทุกวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี ประเทศไทยโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้จัดงานรณรงค์เช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อหวังให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำลายทรัพยากรธรรมชาติของโลก โดยงานวันสิ่งแวดล้อมโลกของไทยปีนี้เริ่มจัดงานมาแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ (4 มิ.ย.) ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 6 มิ.ย.ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน

ทั้งนี้ งานวันสิ่งแวดล้อมปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด : ยกระดับความคิด แก้วิกฤติน้ำท่วมโลก เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น โดยสะท้อนปัญหาวิกฤติน้ำท่วมทั่วโลกผ่านทางการแสดงนิทรรศการ พร้อมแนะการปรับพฤติกรรมชีวิตประจำวันของประชาชนเพื่อช่วยชะลอและบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นผ่านนิทรรศการ ความเป็นมาของโครงการการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ปี 2556 และนิทรรศการผลงานของสตรีดีเด่น ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ในงานยังมีการออกร้านแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยรวบรวมจากผู้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองตราผลิตภัณฑ์ ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ผักผลไม้ออร์แกนิค และ โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมกว่า 150 ร้านค้ามาจำหน่ายและบริการแก่ประชาชนที่มาร่วมงาน
 
 
 
 
เพียวพรรณ 5/7 เลขที่ 24
Copyright @ 2013 Natural Resources Conservation in Thailand and World. Designed by Templateism | MyBloggerLab