การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ


ประชา อินทร์แก้ว ( 2542 ) ได้ให้ความหมายของการอนุรักษ์เอาไว้ว่า การอนุรักษ์ ( Conservation ) หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากร อย่างชาญฉลาด ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชนมากที่สุด และใช้ได้เป็นเวลายาวนานที่สุด ทั้งนี้ต้องให้สูญเสียทรัพยากรโดยเปล่า ประโยชน์น้อยที่สุด และจะต้องกระจายการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรโดยทั่วถึงกันด้วย ฉะนั้น การอนุรักษ์จึงไม่ได้หมายถึงการเก็บรักษาทรัพยากรไว้เฉย ๆ แต่ต้องนำ ทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องตามกาละ เทศะ ( Time and Space ) อีกด้วย หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินั้น มีหลัก 3 ประการ คือ (ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ , 2546)
1. ต้องใช้ทรัพยากรอย่างฉลาด กล่าวคือ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงผลได้ผลเสียจากการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐศาสตร์ และเมื่อใช้แล้ว จะเกิดการขาดแคลนในอนาคตหรือไม่
2. ประหยัดของที่หายาก หมายความว่าทรัพยากรใดที่มีน้อยหรือหายากก็ควรเก็บรักษาหรือสงวนเอาไว้ไม่ให้สูญหายไป ของบางอย่างถ้าอยู่ในสภาพที่พอจะใช้ได้ก็ควรจะใช้ต่อไป และใช้อย่างประหยัดอย่าฟุ่มเฟือย
3. หาวิธีฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น กล่าวคือ ทรัพยากรใดที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญเปล่าหรือหมดไป ก็ควรที่จะซ่อมแซมหรือปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น แนวทางในการดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในการดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินั้น มีแนวทางดำเนินการตามวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ ( ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์, 2546)

1. ให้การศึกษาแก่นักเรียนและประชาชน การศึกษาจะช่วยให้คนเข้าใจ เกิดความตระหนัก เกิดจริยธรรมที่ดีและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจะมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้นการจัดการศึกษาในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควรมีการสอดแทรกเข้าไปในบทเรียนทุกระดับชั้น เพื่อให้เยาวชนได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
2. ออกกฎหมายควบคุม เนื่องจากกฎหมายเป็นข้อบังคับที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม การนำข้อบังคับทางกฎหมายเข้ามาช่วยควบคุม หรือบังคับให้ผู้ก่อให้เกิดมลพิษจำเป็นต้องปฏิบัติตาม ถือว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง หากมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายก็จะได้รับโทษปรับหรือจำคุก กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ . ศ . 2535 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
3. การแบ่งเขต เป็นการแบ่งเขตพื้นที่ตามประเภทของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ สาเหตุที่ใช้การอนุรักษ์แบบแบ่งเขต เนื่องจากวิธีการให้ความรู้และการใช้กฎหมายไม่ได้ผล หรือต้องการจะแบ่งเขตให้ชัดเจนเพื่อให้การอนุรักษ์ได้ผล และจะต้องมีการสร้างมาตรการกำกับในเขตที่แบ่งนั้นด้วย เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมืองควบคุมมลพิษ
4. การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เนื่องจากการใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและทำให้มีมลพิษเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันเราสามารถใช้เทคโนโลยีในการบำบัดหรือกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกำจัดมลพิษแต่ละชนิด
5. จัดตั้งชมรมหรือสมาคมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติขึ้นในสถานศึกษา โดยมีกลุ่มนักศึกษาที่สนใจร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มที่บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม
6. การโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนต่าง ๆ เพราะการดำเนินการผ่านสื่อมวลชน จะทำให้ประชาชนทราบข่าวอย่าง กว้างขวางและเข้ามามีส่วนร่วมได้มาก และยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ ตลอดจนเข้าใจบทบาทและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมทั้งทราบถึงกฎหมาย พระราชบัญญัติ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบ ถ้าประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็จะทำให้ประชาชนทุกคนในประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
7. การตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทำหน้าที่ประสานงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการอิสระในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่รับผิดชอบได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ หรือตามกฎหมายเพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป

การอนุรักษ์ดินและน้ําเพื่อการเกษตร

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557
การอนุรักษ์ดินและน้ําเพื่อการเกษตร
         ดินและน้ำยังเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มาศึกษากันเถอะการอนุรักษ์ดินและน้ำ คือ การใช้น้ำหรือการจัดการทรัพยากรดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยป้องกันการชะล้างการพังทลายของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สามารถทำการเกษตรได้ตลอดไป
การอนุรักษ์ดิน เพื่อรักษาความสามารถในการผลิตของดินให้ยืนนานและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยเนื้อที่ดิน
http://www.kasetcity.com/Sanha/pic/IMG_0008.JPG

หลักการอนุรักษ์ดิน

         1. ลดอัตราการกัดกร่อนของดิน
         2. เพิ่มหรือรักษาระดับปริมาณของธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุในดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
         3. ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้อยู่สภาพที่เหมาะสม
         4. ทำให้สามารถใช้น้ำอย่างประหยัด

การอนุรักษ์น้ำ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเหมือนกับทรัพยากรดินดังนั้นกิจกรรมการอนุรักษ์น้ำจึงต้องมีการดำเนินการควบคู่กันไป
  
หลักการอนุรักษ์น้ำ

            1. ลดการป้องกันการสูญเสียน้ำโดยการระเหยของน้ำบนผิวดิน

            2. เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นนานที่สุด

            3. ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด

พื้นที่การอนุรักษ์ดินและน้ำ

จากรายงานของกรมพัฒนาที่ดิน(2538)ได้ระบุว่าในปี พ.ศ. 2524 มีพื้นที่ดินที่เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายในระดับความรุนแรงมาก มีพื้นที่ 107.69 ล้านไร่ พื้นที่ดังกล่าวกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ที่พบมากที่สุด คือ บริเวณที่มีความลาดชันทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ที่ถูกบุกรุกถากถางเพื่อขยายพื้นที่ ทำการเพาะปลูก ในปี พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ดินที่เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายเพิ่มขึ้นเป็น 134.54 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่จำเป็นต้องมีการจัดการโดยวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ
วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ คือ วิธีการที่นำมาใช้ในพื้นที่หนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์พื่อยับยั้งหรือชลออัตรา การชะล้างพังทลายของดิน โดยอาศัยหลักการสำคัญ คือ เมื่อฝนตกลงมาในที่ใดที่หนึ่งจะพยายามให้มีการเก็บกักน้ำไว้ ณ ที่นั้นเพื่อให้น้ำไหลซึมลงไปในดินเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ

1. วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้ระบบพืช


เป็นวิธีการจัดระบบพืชโดยการผสมผสานกันระหว่างมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำและการจัดการระบบพืชปลูก ได้แก่

                 1. การปลูกพืชเป็นแถบ
                 2. การปลูกพืชตามแนวระดับ
                 3. การปลูกพืชคลุมดิน
                 4. การปลูกพืชบำรุงดิน
                 5. การปลูกพืชแซม
                 6. การปลูกพืชเหลื่อมฤดู
                 7. การปลูกพืชหมุนเวียน
                 8. การปลูกแถบหญ้าตามแนวระดับ
                 9. การปลูกพืชไม้พุ่มเป็นแถบตามแนวระดับ
                10. การทำคันเศษซากพืชตามแนวระดับ

วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้ระบบพืช จะต้องปฏิบัติดังนี้


                 1. ไม่เผาทำลายเศษซากพืช
                 2. ไม่ทำไร่เลื่อนลอย
                 3. ไถพรวนให้ถูกวิธี ไม่ไถพรวนขึ้นลงตามความลาดเทของพื้นที่แต่ไถพรวนขวางความลาดเทของพื้นที่และ ไม่ทำการไถพรวนบ่อยครั้ง
                 4. ปลูกพืชให้ถูกวิธี ปลูกพืชตระกูลถั่วบำรุงดินคลุมดินและปลูกตามแนวระดับ
                 5. ปรับปรุงบำรุงดิน ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด
                 6. บนพื้นทีที่มีความลาดชันสูงเกิน 35 เปอร์เซ็นต์ ไม่ควรทำการเกษตร แต่ถ้ามีความจำเป็นจะต้องทำคันดินเป็นขั้นบันไดขวางความลาดเทของพื้นที่ จัดทำร่องน้ำและแหล่งเก็บกักน้ำให้ไหลลงเฉพาะแห่ง และยกร่องปลูกพืชบนแนวคันดินระดับเดียวกัน

2. วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้วิธีกล

โดยมุ่งหนักไปในการก่อสร้างสิ่งกีดขวางความลาดชันของพื้นที่ เพื่อสกัดกั้นน้ำไหลบ่าและการพังทลายของดิน การอนุรักษ์ โดยการวิธีกลนี้เป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายได้ทันที แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง และในระหว่างก่อสร้างต้องพิถีพิถันทำให้ดี มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้นไปอีก ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีคือ
    1. การปลูกพืชตามแนวระดับ (Control cultivation) ได้แก่ การไถพรวน ปลูกและเก็บเกี่ยวพืช
ขนานไปตามแนวระดับ ขวางความลาดชันของพื้นที่ เหมาะที่จะใช้ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน 2-7 %
    2. การสร้างคันดินกั้นน้ำ (Terracing) เป็นการสร้างคันดินหรือร่องน้ำขวางความลาดชันของพื้นที่
เพื่อลดความยาวของพื้นที่ที่รับน้ำฝนให้สั้นลง อย่างไรก็ตามการที่จะให้คันดินกั้นน้ำมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการชะ ล้างพังทลายของดินนั้นจะต้องทำการปลูกพืชตามแนวระดับ และใช้มาตรการอื่น ๆ ผสมผสานไปด้วย ชนิดของคันดินแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
        ก คันดินขั้นบันได ( Bench Terrace) ทำโดยการปรับพื้นที่ลาดชันให้เป็นขั้นบันได
ซึ่งนอกจากจะลดความยาวของความลาดชันของพื้นที่แล้ว ยังเป็นลดการลาดชันของพื้นที่ลงอีกด้วย ขั้นบันไดดินนี้ส่วนใหญ่ใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดชันเกินกว่า 18 % ขึ้นไป และดินต้องเป็นดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร
        ข คันดินกั้นน้ำ ( Field Terrace) เป็นการสร้างคันดินและร่องน้ำขวางความลาดชัน
ของพื้นที่เป็นช่วง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นคันดินแบบลดระดับ (Graded terrace) เพื่อช่วยระบายน้ำ หรือเป็นแบบระดับ (Level) เพื่อเก็บกักเก็บน้ำไว้ก็ได้
    3. การปรับพื้นที่เฉพาะหลุม (Individual basin) เป็นการปรับพื้นที่เป็นช่วง ๆ เฉพาะบริเวณ
หลุมปลูกต้นไม้ เหมาะที่จะใช้กับไม้ผล และไม้ยืนต้นต่าง ๆ ขนาดของหลุมยิ่งกว้างมากก็ยิ่งมีประสิทธภาพในการป้องกันการชะล้างของดินได้ สูง
    4. คูรับน้ำรอบเขา (Hillside ditch) เป็นคูรับน้ำที่จัดทำขึ้นขวางความลาดชันของพื้นที่เป็นช่วง ๆ
โดยมีระดับของร่องน้ำลาดไปยังทางน้ำที่จัดทำขึ้นหรือบริเวณที่รับน้ำได้ เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือแปลงพืชคลุมหนา ๆ
    5. คันดินเบนน้ำ (Diversion) เป็นคันดินขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อเบนน้ำเหนือพื้นที่ไม่ให
้เข้าไปรบกวนในไร่นา ที่พักอาศัย ฯลฯ หรืออาจจะเบนน้ำไปลงอ่างเก็บน้ำก็ได้
    6. เขื่อนกั้นร่องน้ำ (Check dam) เป็นสิ่งก่อสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายแบบร่องลึก
โดยสร้างขวางทางน้ำเป็นช่วง ๆ ในร่องน้ำที่เกิดการกัดเซาะ เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ ช่วยให้เกิดการตกตะกอนทับถมในร่องน้ำ ทำให้ร่องน้ำตื้นเขิน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เขื่อนกั้นร่องน้ำนี้อาจสร้างด้วยเศษไม้ ท่อนไม้ หิน ดิน หรือคอนกรีตก็ได้
    7. ทางระบายน้ำ (Waterway) สร้างขึ้นเพื่อรับน้ำจากคันดินกั้นน้ำ คูรับน้ำรอบเขาหรือบริเวณ
ระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ เพื่อควบคุมการไหลของน้ำไปยังที่กำหนดไว้ โดยไม่ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายขึ้น ทางระบายน้ำนี้อาจสร้างขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงจากร่องน้ำธรรมชาติก็ได้
    8. บ่อน้ำในไร่นา (Farm pond) ช่วยในการเก็บกักน้ำที่ไหลบ่ามาตามหน้าดินรวมทั้งตะกอน
ที่ถูกชะล้างไว้เป็นช่วง ๆ ไม่ให้เกิดผลเสียหายรุนแรงแก่พื้นที่เพาะปลูก ตลอดจนแหล่งน้ำอื่น ๆ นอกจากนั้นยังเป็นการเก็บกักน้ำไว้ในช่วงที่จำเป็นอีกด้วย

การอนุรักษ์พลังงาน

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายการอนุรักษ์พลังงาน
พลังงาน มาจากคำว่า พลัง และ งาน หมายถึง พลังต่างๆ ที่นำมาใช้ให้เกิดเป็นงานตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 
พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำ ให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงานและพลังงานยังรวมถึงการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก แหล่งที่ใช้และผลิตพลังงาน
วิธีการอนุรักษ์พลังงาน มีหลากหลายวิธีสรุปได้ดังนี้
1.ในการเดินทาง
1.1 ใกล้ๆ...ไม่ไกลจนเกินไป...ควรเดินไป...ไม่ใช้รถ...หรือจะใช้รถจักรยานแทนก็ได้ เป็นการออกกำลังกายไปในตัว 
1.2 ควรวางแผนเส้นทางก่อนเดินทาง เพื่อเลือกทางที่ใกล้ที่สุด หรือใช้เวลาน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานหรือลดความสิ้นเปลือง ของน้ำมันเชื้อเพลิงต่อวันลงได้ รวมทั้งลดเวลาในการเดินทาง 
1. 3 หากที่พักของเราใกล้กับที่ทำงานในระยะทางที่สามารถใช้รถโดยสารประจำทางได้สะดวก ก็ควรหันมาใช้รถประจำทางให้มากขึ้น 
1.4 ถ้าต้องการเดินทางจากที่พักถึงที่ทำงานเป็นระยะทางไกลๆทุกวัน ควรจะใช้เส้นทางลัด หรือเส้นทางที่มีสัญญาณไฟจราจรหรือทางแยก น้อยที่สุด 
1.5 หลีกเลี่ยงเวลาทางเดินทางระยะไกล เช่น ไปต่างจังหวัด หากไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแล้ว ควรหันมาใช้รถโดยสารประจำทาง หรือ รถไฟ 
1.6 หมั่นตรวจสอบสภาพรถตลอดเวลา และก่อนเดินทางไกล 
2. การอุตสาหกรรมพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ก็คือ โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม โดยที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้มีมาตรการผลักดัน แนะนำ ส่งเสริม กระตุ้นเพื่อให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นระบบโดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนทางเทคนิคและวิชาการทางเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนทางด้านการเงินในการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น บุคลากร ข้อมูล แผนงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พลังงาน โดยกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ยังเป็นกรอบและแนวทางปฎิบัติในการปรับปรุงคุณภาพของพลังงานให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฉบับนี้ยังได้ระบุให้เจ้าของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมซึ่งมีคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และให้ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. บำรุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเป็นระยะๆ
2. ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์พลังงาน
3. รับรองข้อมูลที่ส่งให้แก่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
4. ควบคุมดูแลการบันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน การติดตั้งเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้และรับรองความถูกต้องของการบันทึกดังกล่าว
5. ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานเพื่อส่งให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
6. รับรองผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
7. ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมปฏิบัติตามคำแนะนำของอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
3. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย การใช้พลังงานในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยควรปฏิบัติดังนี้
3.1 การใช้น้ำ
  • ใช้หัวก็อกที่มีตัวลดอัตราการไหลของน้ำให้อ่อนลง
  • ปิดก็อกน้ำในระหว่างแปรงฟัน สระผม หรือโกนหนวด
  • ใช้ไม้กวาดในการกวาดพื้นแทนการใช้น้ำฉีดเพื่อทำความสะอาด
  • ล้างรถด้วยน้ำถังและฟองน้ำ แทนการใช้สายยางฉีดน้ำ
  • ใช้น้ำจากการซักล้าง หรือถูพื้น เพื่อรดน้ำต้นไม้แทนการใช้น้ำประปา โดยตรง
3.2 เลือกซื้อแต่อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานเช่น เลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีฉลากเบอร์ 5 เป็นต้น
3.3 การใช้เตารีดไฟฟ้า
  • ควรตั้งอุณหภูมิ (ความร้อน) ให้เหมาะสมกับชนิดผ้าและแบ่งผ้าชนิดเดียวกันไว้ด้วย กัน เพื่อหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนการตั้งอุณหภูมิบ่อยครั้ง
  • ควรรวบรวมผ้าไว้รีดคราวละมากๆ และพรมน้ำให้หมดทุกตัว ก่อนจะรีดผ้า
  • อย่าพรมน้ำจนเปียก เพราะจะทำให้ต้องรีดผ้านานกว่าเดิมสิ้นเปลืองไฟฟ้า
  • ก่อนรีดผ้าเสร็จควรดึงปลั๊กก่อน เนื่องจากยังมีความร้อนเหลืออยู่พอที่จะรีดต่อไปได้
  • เวลาตากผ้าควรจัดรูปทรงผ้าและดึงให้ตึง เพื่อให้เสื้อผ้ายับน้อยที่สุด จะทำให้รีดง่าย และประหยัดไฟฟ้า
3.4 การใช้โทรทัศน์
  • โทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
  • โทรทัศน์ที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าระบบทั่วไปในขนาดเดียวกัน เพราะมีวงจรเพิ่มและใช้ไฟฟ้าตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ใช้เครื่อง
  • ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ถ้าเสียบปลั๊กทิ้งไว้จะใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา
  • โทรทัศน์ขาวดำจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าโทรทัศน์สี
  • ปิดเมื่อไม่มีคนดู
  • ควรตั้งเวลาปิดโทรทัศน์โดยอัตโนมัติ สำหรับเครื่องที่มีระบบตั้งเวลาปิด เพราะ จะช่วยประหยัดไฟสำหรับผู้ที่มักจะนอนไม่หลับหน้าโทรทัศน์หรือลืมปิดเครื่อง

3.5 การใช้เครื่องซักผ้า
  • แช่ผ้าก่อนเขาเครื่อง ทำให้ง่ายต่อการซักผ้า
  • ผ้าที่ซักให้เป็นไปตามพิกัดของเครื่อง อย่าใส่ผ้ามากเกินกำลังของเครื่อง หรือซักจำนวนน้อยเกินไป
  • ไม่ควรใช้เครื่องซักผ้าแบบที่มีเครื่องอบแห้งด้วยไฟฟ้าในตัว เพราะสิ้นเปลืองไฟฟ้า มาก ควรตากผ้ากับแสงแดด หรือในที่มีลมโกรก
ข้อมูลทั้งได้อ้างอิงมาจาก

ศุภณัฐ เนียมโสตร  5/7  เลขที่ 27

เครืออิมพีเรียล อนุรักษ์เต่าทะเล

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
มร.Doeke Bonga และวริยา ลุลิตานนท์ นำคณะร่วมปล่อยเต่าสู่ท้องทะเล ที่ชายหาดหน้า รร.อิมพีเรียล โบ๊ทเฮ้าส์ รีสอร์ท สมุย. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์โลกใบนี้ ให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน ได้จุดประกายให้กลุ่มโรงแรมในเครืออิมพีเรียลภายในประเทศทั้ง 12 โรงแรม ของ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เกิดแนวคิดที่จะร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ และได้เริ่มจัดกิจกรรม “ดูแลโลกไปกับเครืออิมพีเรียล” ขึ้นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้วนี้เอง โดยร่วมกันทำความ สะอาดภายในบริเวณโรงแรมและรอบๆภายนอกให้สะอาดน่าอยู่ และปีนี้ก็ได้เพิ่มกิจกรรมปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มเติมพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น เมื่อวันเอิร์ธเดย์ที่ผ่านมา และเพื่อสานต่อแนวคิดดีๆนี้ เมื่อวันวิสาขบูชา (24 พ.ค.56) มร.Doeke Bonga ผู้จัดการทั่วไป รร.อิมพีเรียล โบ๊ทเฮ้าส์ บีช รีสอร์ท เกาะสมุย และวริยา ลุลิตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาดบริษัท ทีซีซี โฮเต็ล กรุ๊ป ได้จัดกิจกรรม “เรารักษ์ทะเลกับเครือโรงแรมอิมพีเรียล” ขึ้นที่บริเวณชายหาดหน้าโรงแรม โดยได้รับการอนุเคราะห์ประชากรเต่าจากศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง ในการปล่อยเต่าคืนสู่ท้องทะเล โดยคุณดุ๊ก จีเอ็มของ รร.อิมพีเรียล โบ๊ทเฮ้าส์ฯ กล่าวว่า เรามีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะจัดกิจกรรมดีๆ เช่น การปล่อยเต่าทะเลคืนสู่ท้องทะเลเช่นนี้ในทุกๆปี เป็นการกระตุ้นสำนึกรักสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสสัมผัสความงามอย่างแท้จริงของธรรมชาติสืบไป ทั้งนี้ จากการวิจัยพบว่า เต่าทะเลในธรรมชาติ มีอัตราการรอดตายและเจริญเติบโตถึงขนาดเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ได้เพียง 0.01% เท่านั้น ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง ซึ่งไม่เพียงแต่มีหน้าที่แค่ฟักไข่เต่าทะเลเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูลูกเต่าให้มีขนาดโตขึ้นจนอายุประมาณ 1 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าลูกเต่าสามารถอยู่รอดด้วยตัวเอง เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป ซึ่งจะช่วย ฟื้นฟูความสมบูรณ์ของท้องทะเล และขณะเดียวกันยังช่วยเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อีกด้วย
 
 
 
 

Ancient Silk Town Paves Way for Japan’s Lost Rice Fields

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
 
 
 
 
 
Tomiyoshi Kurogoushi sighs as he looks over the terraced rice fields in the mountains of central Japan that were tended by generations of his family. Most are now covered in weeds and silver grass.
The area of land Kurogoushi still farms in Yabu, Hyogo prefecture, has shrunk to little more than a small plot around his house where he and his wife Yoko grow potatoes, cabbages and carrots to feed themselves and his mother. Rather than sow rice, the 66-year-old works at a ski resort as a general manager.
“Farmland is deteriorating as people here are getting old,” said Kurogoushi, whose two daughters married and moved away. “Even though we have the land for farming, we can’t really keep doing it. Paddy fields have to be tilled or they’ll be ruined.”
Across Japan it’s the same story. The area of abandoned arable land has almost doubled in the past 20 years as the population gets older and young adults that grew up in rural areas like Yabu move to the big cities to find work. This sleepy community was thrust into the national spotlight after being chosen in March by Prime Minister Shinzo Abe’s administration as a test-bed for the revival of the nation’s declining provinces.
Along with five other areas, Yabu, 600 kilometers west of Tokyo, was designated as a strategic special zone, with the promise to loosen regulations in areas such as agriculture, medicine and labor. The idea is to create development blueprints as part of Abe’s crusade to pull the country out of two decades of economic doldrums.

 

Dark Horse

While most of the other zones are well-known regional centers of industry, agriculture or tourism, Yabu is the dark horse, a little-known semi-mountainous area with a varied past spanning silk farming, tin mining and rice cultivation.
“Now is the last chance to revive agriculture,” said Sakae Hirose, mayor of Yabu. “In three to five years, the old farmers will lay down their plows, the farmland will be left uncultivated and Yabu will fall into decline. We have to create an environment where new entrants can easily come in.”
Like most provincial towns in Japan, the twin forces of emigration and a falling birth rate have hollowed out the community. By 2060, the government estimates four out of 10 people in Japan will be 65 or older, up from a quarter now. In Yabu, it’s already a third, according to the 2010 census.
Yabu’s selection as a special zone was prompted by the determination of Hirose and his team to restructure farming practices to reverse that decline, said Heizo Takenaka, a member of a government council on the zones and a professor at Keio University. The mayor’s plans may include taking over authority for land sales from the farmer-run local agricultural committee.

 

Mountainous Merger

“We’re greatly impressed by Yabu’s enthusiasm and passion for reform,” said Takenaka at a seminar in Tokyo in April. “The special zone probably won’t be successful without this determination.”
Abe’s Chief Cabinet Secretary Yoshihide Suga met Hirose and farmers in Yabu on July 5 and said the area could become a model for other semi-mountainous regions in the country, the Yomiuri newspaper reported.
Yabu’s municipal status was upgraded in 2004, when it was merged with a series of towns strung out along the mountainous valleys of the Maruyama River and its tributaries. Almost half of the nation’s municipal districts have vanished in the past 15 years because of such mergers, which are designed to cut administrative costs as the number of residents dwindles. The combined population of Yabu’s merged towns declined 41 percent to 26,501 in 2010, from 44,884 in 1960.
“It is a microcosm of many of the issues facing Japan,” said Robert Feldman, head of Japan economic research at Morgan Stanley MUFG in Tokyo. “Yabu is an example of how a local initiative can fight against vested interests and try to address the structural problems in the economy.”

 

Ancient Silk

Records show the area was producing silk more than a thousand years ago. By the 19th century, sericulture, as it’s known, was the key industry for the region. A book on the subject by local son Morikuni Uegaki was translated and published in France and Italy in 1848 and is regarded as one of Japan’s first exports of technology.
For more than half a century after U.S. Commodore Matthew Perry opened Japan to trade in 1854, the local silk-reeling factories boomed and raw silk was the country’s leading export as late as the 1930s. The industry declined during and after World War II, under competition from new artificial fibers like nylon, and the region turned to another resource: mining.
Prospectors had sought gold in the hills for centuries around the town of Sekinomiya. In 1909, miners found tin near the village of Akenobe, which soon became a boomtown as the deposit became the biggest source of the metal in Japan.

 

Boom Town

Hiromasa Saito, who used to work as an electrical engineer at the mine, remembers the days when new movies were played every week at the cinema, electricity and water were free, and the town attracted top artists Chiyoko Shimakura, known as “The Goddess of Enka,” a traditional Japanese music style.
Now Akenobe and other towns around Yabu are disappearing, said Saito, 65. “There are many marginal hamlets just like Akenobe. Something has to be done, before it’s too late.”
Today the area’s revenue is supplemented by tourism from the ski resorts in Hachibuse, a high plateau west of Yabu, where stone tools and pottery have been found dating back more than 10,000 years.
To stem the decline by going back to the land, Yabu needs to break free of the entrenched restrictions that dominate Japan’s agriculture. Companies wanting to own farmland must set up agricultural corporations subject to complex rules. The purchase of farmland must be approved by the farmers’ committee, providing a veto over admitting outsiders. Farmers also back the Japan Agricultural Cooperatives group, a powerful lobby that largely controls rice distribution and campaigns to maintain government price supports.

Value Chain

Yabu’s special-zone status clears the way to alter some of those restrictions and find a way to make the land more profitable, switching from rice to higher-value produce and adding processing and packaging operations to create employment.
“It’s a good thing that the name of Yabu has become known nationwide,” said Yukio Umetani, 65, a full-time farmer who grows rice and a local specialty pepper called “Asakura Sansho.” “Young people have moved to bigger cities and only old people have stayed. I’m all for it if new entrants work out well with local people.”
About a third of Umetani’s acre of farmland is untilled.
Still, nervousness about an influx of outsiders runs deep for locals like Yasunari Uegaki, a descendant of the silk pioneer Morikuni. At 48, he’s one of Yabu’s younger farmers. He breeds Tajima cattle, Japanese black calves raised to produce Kobe beef, as well as organic rice. Ducks that swim in his rice paddies are processed into smoked meat that he sells on the Internet.

Future Generations

“The city administration is too far ahead on the special zone and is leaving farmers behind,” Uegaki said. “We need to think about future generations, not just look at the next five or 10 years.”
Even before Yabu gained special-zone status, one company has been using the town to test new agricultural methods. A unit of the real-estate arm of ORIX Corp. (8591), a Tokyo-based financial services provider, converted an abandoned school gymnasium to grow lettuces under artificial light.
Plant Manager Hiroki Yoshida said he’s hired 14 locals and expects the special zone status to boost Yabu’s brand in Japan.
“If Yabu is successful in raising the living standard and improving production, then that will be a shining example to other communities around the country of how to make a major reform in the agricultural sector,” said Morgan Stanley’s Feldman. “It also will show people that you can raise the living standards and keep young people in the regional cities.”
For residents like Kurogoushi, who worked for more than 40 years at the Yabu tourist office, while most of his 6.5-hectares of terraces fell into disrepair, there’s little choice.
“We’ve got to do something,” he said. “It’s a ray of hope.”
 
 

In Vietnam, Paying Communities to Preserve the Forests (ในเวียดนาม ประชาชนเริ่มมีการจ่ายค่าอนุรักษ์ป่าไม้)

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

KALKILL, Vietnam — Before the patrollers spotted the interlopers, they heard the sounds of illegal logging.
When the two groups finally met, violence erupted and rocks flew, according to one of the patrollers, Huynh Van Nghia. He later spent months recovering from injuries he received in the scuffle, which occurred in a forest near the village of Kalkill in Vietnam’s Central Highlands. A few of the two dozen loggers were wounded, too, he added.
Mr. Nghia and the other patrollers, a band of about 30 farmers, essentially work as freelance park rangers under a 2010 law that established a nationwide incentive program in which companies — mainly state-owned hydropower operations — pay communities to protect watersheds.
“I’m part of this program because I feel a responsibility to my community and that I should protect nature,” said Mr. Nghia, who receives about 3 million dong, or $142, a year in exchange for patrolling 74 acres of state-owned land. The payments amount to 3 percent to 6 percent of his family’s annual income from farming coffee, passion fruit and other crops.
Variations on this program have been applied around the world to water, soil and forest conservation projects. New York City introduced incentives to protect water quality in the Hudson River Valley, for example, and China gave farmers cash and grain subsidies to convert sloping cropland to forests in a bid to prevent catastrophic floods.
But Vietnam, which, like China, has a state-dominated economy and forestry sector, has made ecosystem payments a national policy.
Government officials say nearly half of Vietnam’s 63 provinces are carrying out the program, which is intended to support economic development in poor areas while protecting forest cover and supplementing state forestry budgets. But they concede that the program, which is mandatory for hydropower companies, is hindered by administrative inefficiencies and does not yet measure the effects on water quality or forest or watershed health.
Some experts now wonder whether the program, officially called Payments for Forest Environmental Services, is environmentally or financially sustainable.
So far, the payments are “not really paying for environmental services — they’re essentially labor contracts,” Pamela McElwee, a professor at Rutgers University who studies environmental policies in Vietnam, said recently in Hanoi. “There’s not any sort of good monitoring, so the hydropower companies are kind of taking it on faith that they’re getting something out of this.”
Under the rules, hydropower companies pay 20 dong per kilowatt-hour — less than one tenth of a cent — into a government fund and pass on the fees to their customers, typically via electricity rates, according to Pham Hong Luong, a forestry official at the Ministry of Agriculture and Rural Development. The state then distributes the money to communities and companies tasked with protecting forests.
Mr. Luong said in an interview that the national program generated about $47 million a year. A handful of tourism and water-supply companies participate, he added, but 98 percent of the payments come from hydropower producers.
 
The payments program is the latest in a series of forestry reforms in Vietnam since the late 1980s, when the ruling Communist Party gradually began to introduce market-based changes across its government-dominated economy. Environmental experts say the concept of ecosystem payments began to take hold in the early 2000s, when the government viewed them as a budgetary replacement of sorts for state-financed reforestation programs that were scheduled to expire.
The program has since received financing from many international donors, including $10 million since 2005 from the United States Agency for International Development.
An ecosystem payment program is “different from other conservation approaches in that it intends to apply a more marketlike approach,” Joakim Parker, the Vietnam mission director for the United States agency, said in a written response to questions. He said that some hydropower companies were assessing whether the program helped reduce sediment in reservoirs and that it would be a long-term process.
 
But Mr. Luong of the agriculture ministry said forestry officials struggled to collect from many small and midsize hydropower companies. All such companies in the country have contracts with Vietnam Electricity, or E.V.N., the state power distribution monopoly. But Mr. Luong said the company often refused to renegotiate long-term electricity-buying agreements, and hydropower companies said they could not manage the extra expenses.
“It’s very difficult for them to pay us if E.V.N. cannot pay them,” he said in an interview.
Representatives for four hydropower companies in Vietnam that participate in the payments program either could not be reached by telephone or declined to comment.
Even if more of those companies eventually participate, environmental experts say, ecosystem payments will not eliminate the financial incentive for poor farmers to log or illegally plant coffee trees in state forests.
In the Central Highlands province of Lam Dong, a household typically earns the equivalent of $15 per 2.5 acres per year from the payments, while the same acreage of coffee yields more than $2,000, according to Pham Thanh Nam, a forestry officer there who coordinated the program’s pilot stage before the 2010 decree.
“If we think of the opportunity cost, it cannot compare with the coffee,” Mr. Nam said during an interview in the city of Da Lat, the provincial capital of Lam Dong. Scholars write that poor members of ethnic minority groups in the Central Highlands are often pushed off their land by settlers from the Kinh ethnic majority group, prompting them to cut trees and grow crops in some of Vietnam’s most resource-rich forests.
As for concerns about the program’s environmental sustainability, Mr. Luong said the government was working with experts from the Asian Development Bank to introduce state-of-the-art technologies, like satellite monitoring to monitor forests.
But Pham Thu Thuy, Vietnam country director at the Center for International Forestry Research, said the program’s environmental monitoring capabilities were still at an “infant stage.”
 
Ms. Thuy and other experts also question whether the program is supporting the poor as intended. She said that in some areas of rural Vietnam, villagers might not trust the leader who signed the contract on the village’s behalf. In other cases, villagers also wanted to invest the money they received into farming, Ms. Thuy added, and so resented a clause that required them to spend a percentage on items that benefited the community, like furniture for a village community center.
Meine van Noordwijk, chief science adviser at the World Agroforestry Center, said the Vietnam program’s shortcomings were not unique..
He said several countries, including China and Costa Rica, have tried to regulate a wide range of ecosystem payments, but none have achieved perfect success because putting price tags on ecosystems is such a complex undertaking: “The challenge is that the definition is setting up a target that is almost unreachable.”
A few Central Highlands villagers said Vietnam’s program, though not perfect, made sense for them.
In the village of Diom A, Touneh Duy, a farmer from the Churu ethnic minority group, has fallen on hard times after a stint in the Vietnamese Army. He said the $113 he received every three months from the program in exchange for protecting state forest land was his primary source of income.
Protecting the government’s woods from loggers and rogue coffee planters can be dangerous, Mr. Duy, 45, said recently at the general store in Diom A. But he was willing to take his chances.
“This program supports poor people,” he said. “I’m one of them.”
 
 
 
ที่มา http://www.nytimes.com/2014/06/07/business/international/in-vietnam-paying-communities-to-preserve-the-forests.html?_r=0#




100 วิธีดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลากหลายวิธีกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมใกล้ๆ ตัวเรา ปรับเปลี่ยน เรียนรู้เพื่อความสมดุลย์ชีวิตและธรรมชาติ 30 วิธีแรกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมง่ายๆ รอบๆ ตัวเรา ดังนี้

 

1. ใช้ผ้าแทนกระดาษทิชชู

เรา ใช้กระดาษทิชชูเช็ดมือ เช็ดหน้า ปีละหลายล้านฟุต ซึ่งหมายถึงการโค่นต้นไม้ลงจำนวนมหาศาลช่วยกันลดการใช้กระดาษทิชชูด้วยการ วางผ้ามือไว้ใกล้อ่างล้างมือแล้วใช้ผ้าเช็ดโต๊ะแทนการใช้กระดาษทิชชูเช็ด

2. ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

ประหยัด ถุงพลาสติกได้โดยการใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หากถุงพลาสติกสกปรกก็ให้ทำความสะอาดแล้วแขวนไว้ให้แห้งเพื่อส่งกลับเข้าโรง งานสำหรับผลิตใหม

3. แยกทิ้งเศษกระดาษจากขยะอื่น

โปรด หลีกเลี่ยงการทิ้งเศษกระดาษลงในถังกับขยะอื่นๆ เพราะจะทำให้กระดาษเปรอะเปื้อนไขมันและเศษอาหารจะทำให้เศษกระดาษนั้นนำไป ผลิตใหม่อีกไม่ได้

4. กระดาษที่นำไปรีไซเคิลไม่ได้

กระดาษที่ไม่สามารถนำไปเข้ากระบวนการผลิตใหม่เป็นกระดาษใช้ได้อีก ได้แก่ กระดาษที่เคลือบด้วยขี้ผึ้ง กระดาษที่เข้าเล่มด้วยกรรมวิธีการละลายโดยใช้ความร้อน เช่น สมุดโทรศัพท์ นิตยสารต่างๆ ตลอดจนกระดาษที่ถูกเปรอะเปื้อนด้วยการชนิดที่ไม่ละลายน้ำ

5. หนังสือพิมพ์สามารถแก้ไขปัญหา ขยะกระดาษ

แหล่งสร้างขยะกระดาษที่สำคัญก็คือหนังสือพิมพ์ หน้าที่เป็นขยะกระดาษโดยผู้อ่านไม่ได้อ่าน ก็คือหน้าโฆษณาธุรกิจ ซึ่งมีอยู่ฉบับละหลายๆ หน้า ซึ่งแม้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหนังสือพิมพ์ แต่ ควร  คำนึงว่า นั่นคือการทำลายกระดาษสะอาดและสร้างขยะกระดาษให้เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน

 6. เศษหญ้ามีประโยชน์

เศษหญ้าที่ถูกทิ้งอยู่บนสนามนั้น สามารถให้ประโยชน์ต่อสนามหญ้าได้มากเพราะในเศษหญ้านั้น มีธาตุอาหาร ที่มีคุณค่าเทียบเท่ากับปุ๋ยที่ใช้ใส่หญ้าทีเดียว

7. วิธีตัดกิ่งไม้

วิธีการตัดกิ่งก้านของต้นไม้ ไม้พุ่มใบไม้ ควรตัดให้เป็นเศษเล็กเศษน้อยเพื่อช่วยลดเศษขยะให้กับสวนได้และทั้งยังช่วยให้เกิดการเน่าเปื่อยขึ้นกับเศษใบไม้นั้นเร็วขึ้นด้วย

8. ใช้เศษหญ้าคลุมไม้ใหญ่

เศษหญ้าที่ตัดจากสนามและสวนนั้น สามารถนำไปคลุมต้นไม้ใหญ่ได้ การใช้เศษหญ้าปกคลุมพืชในสวนจะช่วยในการกำจัดวัชพืชได้เพราะวัชพืชจะไม่สามารถแทงลำต้นผ่านเศษหญ้าได้ นอกจากนี้เมล็ดของวัชพืชที่ร่วงหล่นก็ไม่อาจหยั่งรากทะลุผ่านเศษใบไม้ได้ด้วย

9. ประโยชน์ของพลาสติกช่วยถนอมอาหาร

พลาสติกทุกชนิดหากถูกไฟไหม้ จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายได้มีการรณรงค์ให้เลิกใช้พลาสติก แต่จริง ๆ แล้วพลาสติกยังคงมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันโดยเฉพาะพลาสติกมีประโยชน์ในการถนอมอาหารให้สดอยู่ได้ เป็นเวลานาน ๆ

10. พลาสติกรีไซเคิล

ปัจจุบันมีบริษัทกว่า 200 แห่ง ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกได้ทำการรีไซเคิลพลาสติก จำนวน 20% จากขวดเครื่องดื่มพลาสติกที่ทำจาก Polyethylene Terephthalate หรือ PET จะถูกนำไปรีไซเคิล เป็นด้ามเครื่องจับไฟฟ้า กระเบื้องปูพื้นเส้นใยสังเคราะห์ในหมอน ถุงนอน หรือใช้บุเสื้อแจ็คเก็ต

 11. พลาสติกรีไซเคิล (2)

ภาชนะพลาสติกที่ใส่น้ำผลไม้และนมนั้นทำมาจากพลาสติกชนิด Polyethylene ที่มีความเข้มข้นมากเมื่อใช้แล้วได้ถูกนำมารีไซเคิลทำเป็นท่อพลาสติก กระถางต้นไม้ เก้าอี้พลาสติก

12. วิธีเก็บขวดแก้วที่ใช้แล้ว

ขวดแก้วทุกชนิดที่บรรจุของเมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และแยกชนิดของแก้ว และแยกสีของแก้วด้วย

13. วิธีเก็บกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้ว
นำกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาบี้ให้แบนก่อนทิ้ง หรือขายแก่คนรับซื้อเศษโลหะ

14. น้ำสะอาดมาจากน้ำใต้ดิน
น้ำสะอาดที่เราใช้ประโยชน์ดื่มกิน ส่วนใหญ่ มาจากน้ำใต้ดิน การทิ้งขยะบนพื้นผิวดินทำให้มีผลถึงน้ำใต้ดิน เพราะน้ำฝนจะชะความเป็นพิษและความโสโครกให้ซึมลงไปถึงชั้นน้ำใต้ดินทำให้น้ำใต้ดินเน่าเสียและเป็นพิษได้

15. วิธีล้างรถยนต์

ล้างรถยนต์ด้วย ฟองน้ำ และใช้ถังน้ำจะใช้น้ำเพียง 15 แกลลอน แต่ถ้าล้างด้วยสายยางจะต้องสูญเสียน้ำถึง 150 แกลลอน
 16. ดูแลรักษารถด้วยการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
การดูแลรักษารถจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอได้แก่ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือและทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องควรเปลี่ยนไส้กรองด้วย

17. รักษารถ ด้วยการเปลี่ยนไส้กรอก

ไส้กรองอากาศที่สกปรก จะทำให้การไหลของอากาศที่สะอาดทำได้น้อยลงมีผลต่อการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ด้วย

18. รักษารถ ช่วยลดมลพิษ

การดูแลรักษารถจะทำให้รถสามารถวิ่งได้เพิ่มขึ้นอีก 10% ของจำนวนไมล์ ซึ่งเท่ากับสามารถลดราคาเชื้อเพลิงลงได้ถึง 10% เช่นกัน การลดการใช้เชื้อเพลิงลงก็เท่ากับเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศให้กับโลกได้ด้วย

19. ยางรถยนต์ ช่วยประหยัดน้ำมัน

การเติมลมยางรถ ให้พอดีและขับรถตามข้อกำหนดความเร็วจะช่วยในการประหยัดน้ำมันได้

20. วิธีป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเครื่อง

การป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเครื่องจากตัวถังรถยนต์สามารถทำได้ด้วยการปิดสลักเกลียวในเครื่องยนต์ทุกตัวให้แน่นโดยเฉพาะในส่วนที่ซึ่งน้ำมันเครื่องรั่วไหลออกไปได้ช่วยป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเพื่อลดมลพิษให้กับอากาศของเรา

 21. ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อไหร
ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อขับรถได้ทุก ๆ ระยะ 3,000-4,000 ไมล์ และควรเลือกใช้ไส้กรองที่ดีที่สุดด้วย

22. การเพิ่มออกซิเจนในน้ำมัน

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดมลพิษให้กับรถยนต์ ก็คือการเพิ่มส่วนผสมของออกซิเจนในน้ำมันซึ่งจะช่วยลดปริมาณการเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้เป็นจำนวนมาก
23. อันตรายจากก๊าซเรดอน

ก๊าซเรดอน เป็นก๊าซกัมมันตภาพรังสี มักพบแทรกอยู่ในดินและหินมีคุณสมบัติที่สามารถซึมผ่านขึ้นมาบนผิวดินและกระจายออกสู่อากาศได้โดยผ่านทางรอยร้าวและโพรงของคอนกรีตบล็อค ตามท่อ ก๊าซเรดอนเป็นก๊าซที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ

24. พิษของก๊าซเรดอนต่อร่างกาย

ก๊าซเรดอนเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของปอด การได้รับสารกัมมันตภาพรังสีจากก๊าซเรดอนติดต่อกันนานกว่า 20-30 ปี จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งที่ปอดได้

25. วิธีป้องกันอันตรายจากก๊าซเรดอน

การป้องกันอันตรายจากก๊าซเรดอน ทำได้โดยการไม่สูบบุหรี่ในบ้านหรือในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้น้อย เปิดหน้าต่างให้มีการถ่ายเทระหว่างอากาศภายในบ้านกับอากาศนอกบ้านทุก ๆ ว

  26. ปลูกต้นไม้ในห้องช่วยลดมลพิษ


ปลูกต้นไม้ในห้อง โดยปลูกไม้กระถางผสมถ่านกับดิน ถ่านจะเป็นตัวช่วยดูดซับสารมลพิษและจุลินทรีย์ภายในห้องได้

27. พิษภัยของฝุ่นฝ้าย

ฝุ่นฝ้ายในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคปอดอักเสบ โดยฝุ่นฝ้ายจะเข้าไปทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกและหัวใจ โปรดป้องกันตนเองจากฝุ่นฝ้ายด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกันในการหายใจ

28. วิธีใช้น้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน

มีสารเคมีมากกว่า 63 ชนิด ที่ใช้เป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน เช่น น้ำยาถูพื้น น้ำยาขัดห้องน้ำ โปรดอ่านคำแนะนำในฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันตัวเองให้พ้นจากพิษภัยอันตราย

29. เก้าอี้พลาสติกรีไซเคิล

เก้าอี้พลาสติกส่วนใหญ่ผลิตขึ้นใหม่จากพลาสติที่ใช้แล้ว เช่น เก้าอี้พลาสติกที่มีขนาดความยาว 6 ฟุต นั้น ทำมาจากถังพลาสติก ที่ใช้บรรจุนมเป็นจำนวนถึง 1,050 ใบ

30. รักษาสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นที่ใกล้ตัว

ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นเราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจนถึงพื้นที่ป่าใหญ่ เพื่อปลูกป่า แต่เราสามารถเริ่มต้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายได้ในพื้นที่ใกล้บ้านเราเอง
 

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ความหมายของสิ่งแวดล้อม
คือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตรวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
·       สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
·       สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
 
ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
เราสามารถจำแนกปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สังคมมนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ 3 ปัญหาใหญ่ ๆ คือ
         1. ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ
          2. ปัญหามลภาวะหรือมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
          3. ปัญหาการทำลายระบบนิเวศ
 
 
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจากสาเหตุใหญ่ 3 ประการ คือ

        1. การเพิ่มจำนวนของประชากร
        การเพิ่มความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ ความต้องการพื้นที่ทำกินทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีการบุกรุกทำลายป่าอันควรสงวนไว้เพื่อรักษาดุลยภาพของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติความต้องการในการใช้ทรัพยากรอื่นๆ เป็นต้นว่า น้ำ อากาศ แร่ธาตุ แหล่งพลังงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพียงเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ยังขาดการวางแผนการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงความต้องการในอนาคต จนเกิดความเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นโดยทั่วไปและอาจทำให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงในอนาคต หากยังมีการทำลายหรือการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติกันอย่างไม่ระมัดระวังต่อไปอีก
 
        2. การรวมตัวของประชากรหรือการตั้งถิ่นฐานมนุษย์
          เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเช่นเดียวกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ซึ่งโดยปกติแล้วจะขาดการวางแผนและผังเมืองไว้ล่วงหน้าทำให้เกิดปัญหาของเมืองขึ้น เป็นต้นว่าการใช้ที่ดินที่ไม่มีระเบียบแบบแผน ปัญหาการจราจร การขาดแคลนทางด้านสาธารณูปโภคและการบริการโดยทั่วไป รวมทั้งการพักผ่อนหย่อนใจอันแสดงถึงสภาพความเสื่อมโทรมทั้งทางด้านกายภาพสังคม และคุณภาพของชีวิตของคนในเมืองทุกขณะการขยายตัวของเมืองนั้นโดยปกติจะมีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากอุตสาหกรรมจะได้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้ชิดกับเมืองที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งหมายถึง การมีตลาดการคมนาคมและบริการพื้นฐานต่างๆ ที่ดีกว่าเมืองหรือชุมชนขนาดเล็ก การขยายตัวทางอุตสาหกรรมมักจะขาดการวางแผนหรือควบคุมที่เพียงพอ จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย อากาศเป็นพิษจากของเสียที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ปล่อยออกมา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านกายภาพ และทางด้านสุขภาพ อนามัย และคุณภาพชีวิตของประชากรเช่นเดียวกัน
 
        3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตในทางด้านการเกษตร
        การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงได้ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของคุณภาพของดินปัญหาดินเป็นพิษ ซึ่งอาจจะแผ่กระจายตัวลงสู่แม่น้ำ ลำธาร จนเป็นสาเหตุของน้ำเสีย หรือทางด้านอุตสาหกรรม วิธีการในการผลิตที่ใช้สารตะกั่ว ปรอท สารหนู ฯลฯ สารเหล่านี้จะเป็นพิษร้ายแรงต่อสุขภาพอนามัยของประชากร และยากแก่การแก้ไขหรือทำลายส่วนที่ตกค้างให้หมดสิ้นไป การใช้พลังงานก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นได้หลายประการ
        จะเห็นได้ว่าปัญหาของสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นจากคน และการกระทำของคนทั้งสิ้นดังนั้นในการแก้ไขและวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
 
 
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดรวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึงอย่างไรก็ตามในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้นดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย
 
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
 
1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ
            1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
            2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
            3) การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
            4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ      สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
            5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
            6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น
 
 2.  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
 
            1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์เกิดความรักความหวงแหนและให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง
            2) การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น
            3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
            4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการวางแผนพัฒนาการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นต้น
            5) การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสันและระยะยาวเพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนำไปปฏิบัติรวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ที่มา http://www.tigertemplecharity.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539310251&Ntype=13

Copyright @ 2013 Natural Resources Conservation in Thailand and World. Designed by Templateism | MyBloggerLab